Regenerative Food

“Regenerative Food” 

เปลี่ยนมุมคิด ได้มากกว่าที่คิด 

แนวคิด “Regenerative” ที่ให้ความสำคัญกับการลุกขึ้นมาเปลี่ยนเพื่อฟื้นฟูจำเป็นแค่ไหนในเมื่อเรามีแนวคิด “Sustainable” ว่าด้วยความยั่งยืนที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ต่อไปนี้คือสิ่งที่เราจะได้รับจากแนวคิด “Regenerative” เมื่อเลือกเปลี่ยนมุมคิดมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบอาหารเพื่อวันข้างหน้าที่ดีกว่าเดิม

“เปลี่ยน” ตามแนวคิดสู่ “Regenerative” ได้มากกว่า

  1. ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ บรรเทาวิกฤติโลกร้อน ตั้งแต่วิธีปลูกหรือเพาะเลี้ยงที่สอดคล้องกับสภาพอากาศตามฤดูกาล พึ่งพาภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยสามารถนำเทคโนโลยีเกษตรและพลังงานสะอาดมาปรับใช้
  2. รักษาสมดุลทางธรรมชาติ คืนควาสมบูรณ์กลับมาใหม่ การให้ความสำคัญกับการฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พืชและสัตว์ที่อาจกำลังเกือบสูญหาย จะช่วยทำให้ระบบกลับมาสมบูรณ์เกิดความเชื่อมโยงกัน
  3. สร้างโอกาสทางธุรกิจ ผลักดันเศรษฐกิจได้ไกล เช่น การส่งออกผลผลิตไปยัง EU จำเป็นต้องตรงตามมาตรการ European Green Deal เพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ลง 50% หรือ 55% ใน ค.ศ. 2030 ข้างหน้า
  4. ช่วยให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม มองเห็นคุณค่า สร้างความตระหนักทำให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิใจที่จะร่วมกันฟื้นฟูความสมบูรณ์ให้กลับคืนมา เพราะทุกคนคือหนึ่งในระบบที่ต้องเกื้อกูลกัน

แต่หากไม่ลงมือทำตั้งแต่วันนี้เราจะพลาดหลายโอกาส ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสามารถเริ่มจากแค่คนกลุ่มเล็กๆ ก่อนขยายสู่ชุมชน และคนกลุ่มใหญ่ SB Thailand ตั้งใจเป็นส่วนหนึ่งให้ผู้คนเกิดการปรับตัว ลุกขึ้นมาเปลี่ยนมุมคิดจากแนวคิดสร้างสรรค์ “Regenerative Food, Regenerative Future” ที่เราต่างมีส่วนร่วมได้เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

แนวคิด “Regenerative”  เป็นกุญแจสู่อนาคตที่ยั่งยืนด้านอาหาร

การทำเกษตรเร่งรัดที่ตอบโจทย์เพียงความต้องการตลาด กำลังทำให้เราพลาดโอกาสที่จะกลับไปสู่ความสมบูรณ์ และการเกษตรแบบยั่งยืนที่เกื้อกูลกัน เมื่อประกอบกับวิกฤติโลกร้อน การฟื้นฟูจึงกลายมาเป็นประเด็นสำคัญและเร่งด่วนในเวลานี้

กุญแจเพื่อ “ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารของ UN”

ถึงเวลาแล้วที่ “Regenerative” จะกลายเป็นแนวคิดที่จะมาช่วยปฏิรูปและตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยเฉพาะประเด็น  “ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน” ด้วยการให้คุณค่ากับภาคเกษตร ที่จะมาช่วยทำหน้าที่ผลิตอาหารไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลน โดยต้องไม่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้กับโลกใบนี้

กุญแจเพื่อ “พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้ยั่งยืนจากทรัพยากรที่มี”

อากาศ ดิน น้ำ และพืชพันธุ์คือทรัพยากรธรรมชาติที่มีมูลค่า ที่เมื่อมีพร้อมสมบูรณ์ สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย คือ หนึ่ง การจัดการพื้นที่ให้สมดุล มีทั้งพืชเศรษฐกิจและพืชดั้งเดิม เพื่อลดความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และสองการใส่ใจวิธีการผลิตที่ดีต่อโลก คู่ค้า ผู้บริโภค และผู้คนในพื้นที่ ที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้เท่าเทียมกัน

เรื่องราวข้างต้นเป็นเหตุผลที่ SB Thailand ตั้งใจนำแนวคิด  “Regenerative” ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างความยั่งยืนมาเชื่อมโยงกับ “อาหาร” โดยเฉพาะอาหารในท้องถิ่น ที่ภาคการเกษตรไทยมีศักยภาพในการผลิต มาสร้างความตระหนักและจุดประกายความคิด ในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ที่สนใจ และผู้ที่เห็นคุณค่าในสิ่งเดียวกัน ผ่านกิจกรรมแนวคิดสร้างสรรค์ “Regenerative Food, Regenerative Future” ที่พร้อมชวนทุกคนร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลง

Related Posts

Share with
Tags: