Regenerative Tourism

Regenerative Tourism 

การท่องเที่ยวที่ผู้คนและธรรมชาติเติมเต็มซึ่งกันและกัน

วันนี้ภาคการท่องเที่ยวกลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศไทย หากเรายังท่องเที่ยวที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเต็มที่เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ผลกระทบที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะกลายเป็นความเสื่อมโทรม ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศหมดไป ทำให้ชาวบ้านท้องถิ่นขาดรายได้ไปในที่สุด ซึ่งการท่องเที่ยวที่เน้นความยั่งยืนหรือ sustainable tourism เป็นทางออกที่เริ่มดำเนินการร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง เน้นไปที่การแก้และลดการทำลายธรรมชาติ อย่างในเมืองไทยใช้วิธีการปิดชายหาดเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติจากช่วงโควิดที่ผ่านมา ภาคธุรกิจโรงแรมมีนโยบาย เช่น การลดการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนหรือผ้าขนหนูภายในห้องพัก เพื่อลดการใช้น้ำที่มีค่า การเปลี่ยนไลน์บุฟเฟ่ต์เพื่อลดขยะจากอาหารเหลือทิ้ง แต่ในวันนี้อาจยังไม่เพียงพอ ทำให้เกิดเป็นคอนเซ็ปท์ใหม่กับ “regenerative tourism” 

 

อย่างที่ SB Thailand ย้ำเสมอว่าหลักการของการฟื้นสร้างคุณค่าและมูลค่าคือการมุ่งไปที่การลงมือทำเพื่อผลลัพธ์ไปในแง่บวก การลดพฤติกรรมที่เคยทำร้ายโลกอย่างเดียวอาจเป็นความยั่งยืนในแง่มุมแบบเดิม ทำให้พัฒนาแนวคิดไปอีกขั้น เมื่อมีนักท่องเที่ยวมาแล้วคนที่มาก็ต้องได้อะไรกลับมามากกว่าความทรงจำที่ดี และคนในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมยังได้ประโยชน์จากผู้ที่มาเยือนมากกว่าแค่เม็ดเงินที่ไหลมา เป็นการเกื้อกูลกันถึงระบบต่างๆ

 

ความร่วมมือในการสร้างการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นสร้างคุณค่าหรือ regenerative tourism มีบทบาทสำคัญทั้งในแต่ละหน่วยงาน การประสานงานกับผู้คน สนับสนุนให้เห็นความหลากหลายในพื้นที่ตามหลัก 5 Ps โดยมีโครงการที่ต้องการนำเสนอจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ได้แก่

  • perspective and principles ตีความหมายของการฟื้นสร้างออกมาและสร้างกรอบการทำงานที่ไปด้วยกันกับธรรมชาติในพื้นที่
  • purpose เป้าหมายของความรุ่งเรืองที่จะเกิดขึ้นต่อไป
  • people บทบาทและความสัมพันธ์ที่ดีภายในชุมชนจะเป็นอย่างไร
  • place เอกลักษณ์ของพื้นที่มีส่วนในการสร้างชุมชนอย่างไรบ้าง
  • practice ความเข้าใจในการใส่ใจธรรมชาติและผู้คนท้องถิ่น
Share with
Tags: