Regenerative Design งานออกแบบที่ธรรมชาตินำพาคุณค่ากลับคืนสู่ความยั่งยืน

Regenerative Design งานออกแบบที่ธรรมชาตินำพาคุณค่ากลับคืนสู่ความยั่งยืน

วงการงานดีไซน์และสถาปัตยกรรมมีส่วนสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้ความยั่งยืนเกิดขึ้นได้เป็นภาพเมืองและสังคมอย่างชัดเจน แต่วันนี้การขับเคลื่อนงานออกแบบพัฒนาก้าวไปอีกขั้นเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานที่มีอย่างเต็มประสิทธิภาพ การออกแบบเชิงความยั่งยืนซึ่งคนทั่วไปรู้จักกันในชื่อ “การออกแบบเชิงนิเวศ” รวมทั้ง “สถาปัตยกรรมที่ใช้หลักของแสงอาทิตย์” ซึ่งจุดประสงค์หลักเพื่อลดการใช้พลังงานหรือสร้างภาระให้โลกน้อยที่สุด มีการใช้ประเภทของสารเคมีอันตรายน้อยลง สร้างการออกแบบภายในที่ดีกับสภาพแวดล้อมและผู้ที่อยู่อาศัย และลดการใช้น้ำลงได้อย่างน่าพอใจ

แต่ในสภาวะโลกที่มีการบริโภคเพิ่มมากขึ้นจากความเจริญที่สูงขึ้นทุกปี จึงมีการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเพิ่มขึ้น การออกแบบเพื่อความยั่งยืนหรือ sustainable design อาจไม่เพียงพอกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่กลายเป็น “regenerative design” การออกแบบเพื่อสร้างคุณค่าของสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น ไม่ใช่เพียงลดภัยคุกคามของสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ แต่เป็นการใช้งานออกแบบและการก่อสร้างเพื่อสร้างพลังในแง่บวกเพื่อฟื้นระบบของธรรมชาติและผู้คนขึ้นมา

คุณศิริคเณศ สกุลยง Associate Creative Director จาก Hatch Duo รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ให้ความหมายว่าการออกแบบคือการแก้ไขปัญหา และศาสตร์แห่งการออกแบบที่คนเราเรียนรู้จากธรรมชาติเพื่อเข้าใจมากขึ้นมานานกว่า 50 ปีในชื่อว่า Biomimicry กลายเป็นการออกแบบนวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาได้บนความเห็นอกเห็นใจและมีความเป็นมนุษย์ เช่นเดียวกับที่เราสังเกตสัตว์ที่เข้าไปอยู่ในถ้ำ เราจึงใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย เรามองเห็นน้ำที่กลิ้งบนใบบัว จึงมีการเลียนแบบนำสารที่มีคุณสมบัติที่น้ำหรือฝุ่นไม่เกาะมาใช้เป็นสีทาบ้านซึ่งสามารถย่อยสลายได้ไม่ต่างกับใบบัว โดยศาสตร์นี้สามารถสร้างสรรค์เป็นงานออกแบบเพื่อแก้ปัญหาให้มนุษย์ การสังเกตกระบวนการของธรรมชาติเพื่อนำมาปรับใช้ และการสังเกตระบบนิเวศของธรรมชาติ เช่น Solar Ivy เพื่อสร้างและกักเก็บพลังงาน หลักการออกแบบนี้จึงเป็นอีกวิถีที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของมนุษย์และนำความชาญฉลาดของธรรมชาติมาสร้างคุณค่าเป็นนวัตกรรม และทำให้เราได้มองธรรมชาติใกล้ขึ้นกว่าเดิม

Related Posts

Share with
Tags: